สายตาสั้นเท่าไหร่ถึงตาบอด สายตาสั้นมากๆ เสี่ยงตาบอดไหม
Happenings

สายตาสั้นเท่าไหร่ถึงตาบอด สายตาสั้นมากๆ เสี่ยงตาบอดไหม

สายตาสั้น หรือ ภาวะสายตาสั้น เป็นภาวะสายตาผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้คนนับล้านทั่วโลก  โดยปกติจะมีการแก้ไขด้วยการใส่แว่นสายตา คอนแทคเลนส์ หรือการผ่าตัดทำเลสิค การมีภาวะสายตาสั้นขั้นรุนแรง เพิ่มความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายสุขภาพสายตาและยังเสี่ยงถึงขั้นตาบอด

ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกถึงต้นเหตุปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดอาการสายตาสั้น รวมทั้งระดับความรุนแรง และความเสี่ยงของโรคที่อาจทำให้ตาบอดได้

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับอาการสายตาสั้น

สายตาสั้นเกิดขึ้นเมื่อลูกตาขยายตัวยาวกว่าปกติ หรือกระจกตามีความโค้งมากเกินไป จึงทำให้รังสีแสงที่มากระทบด้านหน้าของกระจกตาแทนที่เข้าไปในกระจกตาโดยตรง ส่งผลให้เวลามองวัตถุที่อยู่ไกลพร่ามัว แต่วัตถุที่อยู่ใกล้ตัวยังมีความชัดเจนอยู่ กรรมพันธุ์มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาช้า-เร็วของภาวะสายตาสั้น แต่ทั้งนี้สภาพแวดล้อมรอบตัว รวมถึงการใช้สายตามากๆ และการอยู่ในร่มเสียส่วนใหญ่ โดยที่ออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งน้อย ก็มีส่วนทำให้สายตาแย่ลงด้วย

ระดับความรุนแรงของสายตาสั้น 

โดยปกกติแล้วหน่วยการวัดระดับสายตาสั้นนั้นจะวัดด้วยหน่วยไดออปเตอร์(D) ซึ่งผู้มีภาวะสายตาสั้นเล็กน้อยจะมีค่าสายตาอยู่ที่ -0.25 ถึง -3.00 D ในขณะที่ภาวะสายตาสั้นปานกลางจะอยู่ที่ -3.25 ถึง -6.00 D

แล้วสายตาสั้นเท่าไหร่ถึงตาบอด ภาวะสายตาสั้นมากจะมีค่าสายตาที่เกิน-6.00D ขึ้นไป ความรุนแรงของภาวะสายตาสั้นจะเชื่อมโยงความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะกระจกตาหลุดลอก โรคต้อหิน และตาบอด

ความเสี่ยงจากโรคตาที่อาจทำให้ตาบอด

1. เกิดภาวะจอประสาทตาลอก (Retinal Detachment)

ในเคสของผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นขั้นรุนแรง ลูกตามีการขยายตัวผิดปกติ ทำให้จอประสาทตาบางลง เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะจอประสาทตาลอกออกจากผนังลูกตาด้านหลัง อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้หากไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดทันที

2. จอประสาทตาเสื่อม ( Macular Degeneration)

ภาวะสายตาสั้นมากมักมาพร้อมกับความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นอาการที่กระทบกับจุดภาพชัด ซึ่งอยู่ส่วนกลางของจอประสาทตามีหน้าที่ให้การมองเห็นคมชัด มีรายละเอียด อยู่กึ่งกลาง หากปล่อยให้ภาวะจอประสาทตาเสื่อมแย่ลงเรื่อยๆ สามารถทำให้สูญเสียการมองเห็นถาวร และตาบอดได้

3. ต้อหิน (Glaucoma)

ภาวะสายตาสั้นขั้นรุนแรงมักเชื่อมโยงกับความเสี่ยงของการเกิดต้อหิน โรคต้อ หินเป็นโรคตาที่มีลักษณะเฉพาะ เข้าทำลายเส้นประสาทตา หากไม่มีการตรวจพบแต่เนิ่นๆและได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ต้อหินสามารถทำให้สูญเสียการมองเห็นและตาบอดได้

4.โรคจุดรับภาพจอประสาทตาเป็นรู (Myopic Macular Hole)

ในกรณีของภาวะสายตาสั้นมาก อาจทำให้ จอประสาทตาเกิดรู หรือที่เรียกว่า โรคจุดรับภาพจอประสาทตาเป็นรู อาการนี้สามารถนำไปสู่การมองเห็นที่พร่ามัวของการมองเห็นส่วนกลาง และหากทิ้งไว้ไม่ทำรักษา ก็สามารถทำให้ตาบอดได้

วิธีการป้องกันและการรักษา

 ในขณะที่กรรมพันธุ์มีบทบาทสำคัญที่ชี้วัดอาการของผู้ที่มีสายตาสั้น  แต่การเปลี่ยนแปลงไลฟ์ไสตล์การใช้ชีวิตบางอย่างก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงอาการของโรคที่อาจแย่ลง และภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

1. การตรวจตาเป็นประจำ

การตรวจตาเป็นประจำ มีความสำคัญมาก ต่อการตรวจพบ หากมีอาการผิดปกติทางตาแรกเริ่ม และเพื่อจัดการกับภาวะสายตาสั้นและภาวะแทรกซ้อนของโรค หมอตาจะช่วยติดตามความเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น และจะแนะนำการจัดการและแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม

2. ทำกิจกรรมกลางแจ้ง

ออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งบ้าง โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ยังเป็นเด็ก มีผลทดสอบออกมาว่าช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสายตาสั้นที่อาจเพิ่มขึ้น ดังนั้นควรสนับสนุนให้เด็กๆได้ทำกิจกรรมกลางแจ้ง จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการพัฒนาไปสู่ภาวะสายตาสั้นขั้นรุนแรงลงได้

3. รักษาด้วยเลนส์ ประเภทต่างๆ

การใส่แว่นตาสามารถช่วยแก้ไขความผิดปกติของแสงที่หักเห ตกกระทบ แต่ไม่โฟกัสที่จอประสาทตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถในการมองเห็นสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้น ควรปรับเปลี่ยนค่าสายตาสำหรับเลนส์แว่นสายตาเสมอหากมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะทราบได้จากการวัดสายตากับนักทัศนมาตร เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

4. เลนส์กดกระจกตา (Orthokeratology)

การใส่เลนกดตาคือการใส่คอนแทคเลนส์แข็งที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สำหรับใส่เวลานอนเพื่อการปรับรูปร่างของกระจกตาชั่วคราว โดยการใช้วิธีนี้สามารถ ช่วยลดระดับของภาวะสายตาสั้นที่อาจแย่ลงในเด็ก และวัยรุ่น

5.ทางเลือกในการผ่าตัด

 การผ่าตัดเพื่อการแก้ไขการมองเห็น เช่น เลซิค LASIK (laser-assisted in situ keratomileusis) และการเปลี่ยนใส่เลนส์เสริม implantable collamer lenses (ICL) คือ การแก้ปัญหาสายตา แบบถาวร สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นขั้นรุนแรง

สรุป

สายตาสั้นรุนแรงเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางการมองเห็น หลายอย่าง รวมไปถึงตาบอด ในขณะที่กรรมพันธุ์มีบทบาทสำคัญต่ออาการทางตา แต่สภาพแวดล้อม และตัวเลือกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ก็ มีส่วนที่จะทำให้เกิดภาวะสายตาสั้น และอาการแย่ลงได้

การเข้าตรวจตาเป็นประจำ การทำกิจกรรมกลางแจ้ง และการดำเนินการเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม คือสิ่งสำคัญในการจัดการรับมือกับอาการสายตาสั้นและช่วยลดความเสี่ยงที่ทำตาบอด การมีความรู้ ความเข้าใจถึงความเสี่ยงของโรค รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่มากับภาวะสายตาสั้นรุนแรง และดำเนินการป้องกันไว้ก่อนสาย ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้สำหรับปกป้องสุขภาพตาของตัวเอง เพื่อจะได้มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

ความสำคัญของนักทรรศนมาตร

expert optometrist smiling at niche nation eyewear store

สุดท้ายนี้ นักทัศนมาตรที่ดีจะช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น พวกเขาเข้าใจทั้งแฟชั่นและการใช้งานของแว่นตา

ที่ Niche Nation เราบริการด้วยความเชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ ทีมงานของเราประกอบด้วยนักทัศนมาตรและผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี ทุ่มเทเพื่อให้คำปรึกษาชั้นยอดสำหรับการตรวจวัดสายตาและการเลือกกรอบแว่น

พบกับพวกเราได้ที่ Central Embassy

02 160 5825

[email protected]

Become a member and enjoy our promotions & privileges.

Become a member and enjoy our promotions & privileges.

Hello, how may we help you?
Just send us a message via your favourite messaging app.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก