สายตาสั้นเท่าไหร่อันตราย วิธีป้องกันและรักษาภาวะสายตาสั้นมาก
ฉันในฐานะนักทัศนมาตร ด้วยประสบการณ์การทำงานในสายงานนี้ทำให้ฉันมีโอกาสได้พบกับเคสของผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นมากอยู่เป็นประจำ ฉันจึงเล็งเห็นความสำคัญในการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับภาวะดังกล่าว รวมถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ภาวะสายตาสั้นมาก(High myopia) หรือเรียกอีกอย่างว่า สายตาสั้นขั้นรุนแรง(severe nearsightedness) สามารถส่งผลกระทบต่อการมองเห็น และต่อสุขภาพตาโดยรวมหากไม่มีการจัดการกับปัญหาอย่างเหมาะสม ในบทความนี้เราจะมาลงลึกเพื่อทำความรู้จักกับ ภาวะสายตาสั้นมาก(High myopia) รวมทั้งความเสี่ยงต่างๆที่สามารถเกิดตามมาได้จากอาการนี้ และวิธีปกป้องสุขภาพสายตาที่คุณสามารถทำได้
ภาวะสายตาสั้นมาก(High myopia)คืออะไร
ภาวะสายตาสั้นมาก เป็นอาการที่พบได้มากซึ่งเกิดจากการหักเหของรังสีแสงที่ผิดพลาด ทำให้มองวัตถุที่อยู่ไกลออกไปพร่ามัว ไม่ชัด แต่วัตถุที่อยู่ใกล้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ภาวะสายตาสั้นมากก็คือ ภาวะสายตาสั้นที่มีการพัฒนาไปสู่ขั้นรุนแรง เมื่อลูกตาขยายตัวใหญ่หรือยาวเกินไป หรือกระจกตา มีความโค้งมากผิดปกติ จะทำให้รังสีของแสงมาตกกระทบที่ส่วนด้านหน้าของกระจกตาแทนที่จะลงในกระจกตาโดยตรง เป็นผลให้เกิดความบกพร่องทางการมองเห็น โดยเฉพาะการมองเห็นระยะไกล
สายตาสั้นเท่าไหร่อันตราย
การมีภาวะสายตาสั้นมากคือมีค่าสายตาตั้งแต่ -600 ไดออปเตอร์ขึ้นไป หากค่าสายตาอยู่ในระดับนี้จะถือได้ว่าอันตรายและมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจอตาหลุดลอก โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม โรคต้อหิน โรคต้อกระจก และโรคจอรับภาพผิดปกติ หากคุณมีอาการเห็นแสงไฟแลบๆ หรือเห็นเงาตะกอนน้ำวุ้นตาที่ลอยไปมาคล้ายสิ่งสกปรกเวลามอง เราขอแนะนำว่าให้คุณไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที ความเสี่ยงนี้จะขึ้นอยู่กับ ความเร็วในการเปลี่ยนแปลง ของค่าสายตาที่มีเพิ่มขึ้น และอาการทางสายตาต่างๆ ดังนั้นการตรวจเช็คตาเป็นประจำจึงมีความสำคัญอยางยิ่ง เพื่อให้ตรวจพบความผิดปกติแต่เนิ่นๆ และจะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที และเพื่อหามาตรการพร้อมรับมือก่อนสิ่งไม่พึงประสงค์จะเกิดขึ้นหรือมีอาการแย่ลง เช่น การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตบางอย่าง ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ และยังช่วยรักษาสุขภาพตาโดยรวมไว้ด้วย
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะสายตาสั้นมาก
1. จอตาหลุดลอก(Retinal Detachment)
จอตาหลุดลอกคือ หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและน่ากังวลมากที่สุดจากการมีภาวะสายตาสั้นมาก เนื่องจากดวงตาที่มีความยาวหรือโตกว่าปกติ สามารถทำให้กระจกตาบางลง ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงที่จอตาจะหลุดลอกออกจากผนังลูกตาด้านหลัง ภาวะจอตาหลุดลอกจัดว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็น
2.ศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม (Macular Degeneration)
ภาวะสายตาสั้นมากยังเชื่อมโยงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งอาการของโรคนี้ คือ ส่วนกลางของจอตาจะเสื่อมถอยลงตามกาลเวลา ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็น ณ บริเวณส่วนกลางของลานสายตา โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อมสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตและดำเนินกิจกรรมประจำวัน เช่น การอ่านหนังสือ หรือการขับรถ
3. ต้อหิน (Glaucoma)
สำหรับผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นมากจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดต้อหิน ต้อหินเป็นหนึ่งในโรคตาที่สามารถทำลายเส้นประสาทการมองเห็นได้ ส่วนใหญ่เกิดจากความดันในตาที่เพิ่มขึ้น หากทิ้งไว้โดยไม่ได้รักษาอย่างถูกวิธี ต้อหิน ก็สามารถทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นแบบถาวรเช่นกัน
4. ต้อกระจก(Cataracts)
ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นมากจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อกระจกมากกว่าตาปกติ ต้อกระจกทำให้กระจกตาธรรมชาติเกิดความขุ่นมัว ต้อกระจกส่งผลให้เกิดการมองเห็นที่พร่ามัว มีความไวต่อแสง จึงส่งผลกระทบต่อการมองเห็นที่ชัดเจนเป็นอย่างมาก
5.จอรับภาพผิดปกติในผู้ที่มีสายตาสั้น( Myopic Maculopathy)
อาการนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของจุดภาพชัดบนดวงตาหรือศูนย์กลางจอประสาทตา ซึ่งจะทำหน้าที่รับและแสดงผลรายละเอียดภาพเวลามองเห็น โรคจอรับภาพผิดปกติส่งผลให้เกิดการมองเห็นที่ผิดเพี้ยน การมองเห็นที่ไม่ชัดเจน และสูญเสียการมองเห็นส่วนกลางที่เป็นส่วนจับรายละเอียดของภาพ
ข้อแนะนำสำหรับการรับมือกับภาวะสายตาสั้นมาก
1. ตรวจตาเป็นประจำ
การเข้าตรวจตาเป็นประจำนั้นสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อตรวจหาและรับมือกับภาวะสายตาสั้นมาก รวมถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆตั้งแต่เนิ่นๆ ทั้งนี้นักทัศนมาตรสามารถช่วยติดตามความเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น และช่วยเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2.การรักษาและแก้ไขโดยการใช้เลนส์ต่างๆ
แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์นั้นสามารถช่วยให้ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นมากมองเห็นได้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นแว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ก็ตามควรจะได้รับการสั่งจ่ายจากนักทัศนมาตรหรือผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจว่าค่าสายตานั้นถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการของสายตาของคุณจริงๆ
3. เลนส์กดกระจกตา Orthokeratology (Ortho-K)
เลนส์กดกระจกตา เป็นคอนแทคเลนส์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับใส่เวลานอนเพื่อปรับรูปร่างของกระจกตาชั่วคราว ด้วยการใส่เลนส์ลักษณะนี้สามารถช่วยลดความต้องการในการใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ระหว่างวันได้ และอาจช่วยรักษาระดับและลดความเร็วของภาวะสายตาสั้นที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตได้ในบางท่านด้วย
4. ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์
เราแนะนำและสนับสนุนให้ผู้ที่มีปัญหาสายตาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันให้เป็นมิตรกับสายตามากขึ้น เช่น ควรพักจากหน้าจออิเล็กทรอนิกส์บ้างหากจ้องมองเป็นเวลานาน เลือกรับประทานอาหารมีประโยชน์ที่มีสารต้านอนุมูนอิสระ และโอเมก้าสาม และใส่แว่นกันแดดทุกครั้งก่อนออกจากบ้านเพื่อปกป้องสายตาจากรังสียูวี
5. สังเกตดูอาการอยู่เสมอ
สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นมากควรใส่ใจและควรสังเกตดูการเปลี่ยนแปลงของการมองเห็นของตัวเองเสมอว่ามีอาการผิดปกติ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปไหม หรือหากมีอาการ เช่น เกิดเงาตะกอนน้ำวุ้นตา เห็นไฟแลบ หรือความชัดเจนในรายละเอียดเวลามองเห็นลดลงอย่างรวดเร็ว ควรไปพบแพทย์เพื่อ ขอคำแนะนำและแก้ไขปัญหา
สรุป
สุขภาพตาและการมองเห็นของคุณจะตกอยู่ในความเสี่ยงอันตรายอย่างมาก หากภาวะสายตาสั้นมากไม่ได้รับการจัดการและรักษาอย่างถูกวิธี ด้วยความรู้ความเข้าใจ ในความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของภาวะสายตาสั้นมากนี้ และปฏิบัติตามคำแนะนำที่เราให้ จะนำไปสู่การ รักษาไว้ซึ่งสุขภาพตาที่ดีและช่วยความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางสายตาและการมองเห็นที่อาจเกิดขึ้นได้
การเข้าตรวจตาเป็นประจำ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต และการตื่นตัวเพื่อตรวจหากมีอาการผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะยิ่งรู้เร็วยิ่งแก้ไขได้เร็ว คือกุญแจสำคัญเพื่อการรักษาไว้ซึ่งการมองเห็นที่ดีที่สุด และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นมาก หากคุณมีข้อสงสัยหรือมีความกังวลเกี่ยวกับการมองเห็นหรือสุขภาพตาของคุณ ขออย่าได้ลังเลที่จะเข้ารับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายตาเพื่อขอความช่วยเหลือและหาทางออก เพราะการมองเห็นของเรามีค่ามากกว่าสิ่งใด จงดูแลและให้ความสำคัญกับมันให้มากที่สุด