สายตายาวตามอายุคืออะไร เกิดขึ้นกับทุกคนไหม: สาเหตุ อาการ การรักษา
สายตายาวตามอายุ หรือที่เรียกกันว่า “สายตายาวผู้สูงอายุ” เป็นความผิดปกติทางสายตาที่เกิดตามอายุที่มากขึ้น ซึ่งบ่งบอกได้จากความสามารถในการมองเห็นระยะใกล้ที่ลดลงเรื่อยๆ อาการนี้จะค่อยๆเกิดขึ้นจนรู้สึกได้ตอนอายุประมาณ 40 ปี และอาการจะค่อยๆแย่ลงนับจากนั้นเป็นต้นไป ซึ่งจะไม่เหมือนสายตาสั้นหรือสายตายาว เพราะปัญหาสายตายาวตามอายุจะเกิดขึ้นกับทุกคนเมื่อมีอายุมากขึ้น และไม่ว่าคนๆนั้นจะมีอาการผิดปกติทางสายตาอย่างอื่นมาก่อนแล้วหรือไม่ก็ตาม
สาเหตุของสายตายาวตามอายุ
สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสายตายาวตามอายุคือ ความแก่ชราตามธรรมชาติของดวงตา เลนส์ในลูกตาจะค่อยๆสูญเสียความยืดหยุ่นและแข็งตัวมากขึ้น การสูญเสียความยืดหยุ่นนี้เองทำให้การปรับเปลี่ยนรูปร่างของเลนส์ และการโฟกัสวัตถุใกล้ตัวเป็นไปได้ยากขึ้น ทั้งนี้ส่งผลให้ผู้มีสายตายาวตามอายุ เกิดอาการเบลอเวลาพยายามอ่านหนังสือ เวลาเย็บผ้า หรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตาจ้องมองใกล้ๆ
อาการสายตายาวตามอายุ
อาการของสายตายาวที่ค่อยๆ แสดงออกมามีดังนี้
1. เกิดความยากลำบากในการอ่านตัวหนังสือขนาดเล็ก หรือพยายามโฟกัสวัตถุระยะใกล้
2. มีอาการตาล้าจากการใช้สายตาทำกิจกรรมในระยะใกล้เป็นเวลานาน
3. มีอาการปวดศีรษะโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาใช้สายตาทำกิจกรรมที่ต้องจ้องมองระยะใกล้
4. เวลาที่ต้องอ่านตัวหนังสือจะต้องยื่นมือไปสุดแขนเพื่อจะได้เห็นชัดขึ้น
5. เวลาที่ต้องใช้สายตาทำกิจกรรมบางอย่างที่ต้องจ้องมองใกล้ๆ จะต้องการแสงสว่างมากกว่าปกติ
ปัจจัยเสี่ยงของปัญหาสายตายาวตามอายุ
ในขณะที่ความแก่ชราคือ ปัจจัยหลักของการเกิดปัญหาสายตายาวตามอายุ แต่ก็มีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถทำให้อาการของโรคนั้นแย่ลงได้อีก เช่น
1. ประวัติของคนในครอบครัว
ผู้ที่มีประวัติของคนในครอบครัวประสบปัญหาสายตายาวตามอายุนั้น ทำให้คุณก็มีโอกาสที่จะประสบปัญหานี้ได้เร็วขึ้น และอาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่าคนปกติทั่วไป
2. โรคประจำตัว
โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวานหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถเร่งให้อาการของสายตายาวตามอายุระยะเริ่มแรกหรืออาการที่เป็นอยู่แล้วแย่ลงอีกได้
3. ปัจจัยในการใช้ชีวิต
การสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลต (แสงยูวี) โดยไม่มีการป้องกันดวงตา การสูบบุหรี่ หรือการขาดสารอาหารบางอย่าง สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของดวงตาตามวัย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสายตายาวตามอายุ
ตารางสายตายาวตามอายุ
ในตารางข้างต้น แสดงให้เห็นช่วงอายุและระดับค่าสายตาที่สัมพันธ์ต่ออาการสายตายาวตามอายุ เมื่อเรามีความแก่ชราลงจะมองเห็นระยะใกล้ได้ชัดเจนน้อยลง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เลนส์ที่มีระดับค่าสายตาไดออปเตอร์ที่มากขึ้นเพื่อชดเชยความสึกหรอของดวงตา
การวินิจฉัยปัญหาสายตายาวตามอายุ
สายตายาวตามอายุสามารถวินิจฉัยได้ผ่านการตรวจตาโดยนักทัศนมาตรหรือจากจักษุแพทย์ ซึ่งขั้นตอนการตรวจมีดังนี้:
1. การวัดระดับการมองเห็น (Visual acuity test)
การตรวจวัดนี้จะแสดงให้เห็นถึงความสามารถของการมองเห็นของคุณในแต่ละระยะ ซึ่งช่วยประเมินขอบเขตการมองเห็นระยะใกล้ที่สูญเสียไป
2. การตรวจวัดระดับความชัดเจนของสายตา (Refraction tast)
ด้วยการใช้เลนส์หลายชุด การตรวจนี้จะช่วยประเมินความผิดปกติของการมองเห็น และช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญนั้นเลือกจ่ายเลนส์หรือให้คำแนะนำที่ถูกต้องต่ออาการ
3. ขยายรูม่านตา (Pupill dilation)
การขยายรูม่านตาทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาได้ตรวจสอบโครงสร้างภายในของดวงตาได้ รวมไปถึงเลนส์ เพื่อดูสัญญาณของปัญหาสายตายาวตามอายุ หรือปัญหาอื่นๆที่เกิดขึ้นจากความแก่ชรา
ทางเลือกในการรักษา
อย่างไรก็ตามปัญหาสายตายาวตามอายุจะเกิดขึ้นกับทุกคนโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็มีตัวช่วยหลายอย่างที่สามารถเข้ามาจัดการกับปัญหาการมองเห็นระยะใกล้นี้
1. ตัดแว่นสายตา
แว่นตาที่มีเลนส์สองชั้น (Biofocal lens) , เลนส์สามระยะ (Trifocal lens) หรือเลนส์โปรเกรสซีฟ สามารถช่วยจัดการกับปัญหาสายตายาวตามอายุได้ ช่วยให้มองเห็นชัดเจนในทุกๆ ระยะสายตา
2. คอนแทคเลนส์
Contact lens multifocal หรือคอนแทคเลนส์ที่สามารถมองได้ทั้งระยะไกล กลาง ใกล้ในตัวเดียว ให้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกับแว่นสายตา ให้การมองเห็นที่ชัดเจนทั้งมองใกล้และไกล
3. ผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะสายตาผิดปกติ (Refractive surgery)
การผ่าตัดต่างๆ เช่น การทำเลสิคเพื่อไม่ต้องให้ใส่แว่นตาสำหรับการมองใกล้ (mono vision Lasik) หรือการรักษาโดยคลื่นวิทยุ(conductive Keratolasty) ช่วยปรับรูปร่างกระจกตาเพื่อการมองเห็นระยะใกล้ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามทางเลือกนี้อาจจะไม่เหมาะกับทุกคน และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสายตาก่อนตัดสินใจ
วิธีป้องกัน
ปัญหาสายตายาวตามอายุนั้น เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อร่างกายแก่ชราลง แต่มีบางสิ่งที่สามารถช่วยลดความเร็วหรือช่วยลดอาการและผลกระทบได้อยู่บ้าง
1. ดำเนินชีวิตแบบรักสุขภาพ
ทานอาหารให้เหมาะสมครบถ้วนหมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ทั้งหมดนี้สามารถช่วยให้คุณมีสุขภาพทางดวงตาที่ดี และยังช่วยลดความเร็วของอาการสายตาตามอายุที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
2. ตรวจตากับผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ
การตรวจตาเป็นประจำนั้นช่วยให้พบการเกิดสายตายาวตามอายุ และปัญหาสายตาอื่นๆได้เร็ว ช่วยให้สามารถรักษาและจัดการได้อย่างทันท่วงที
3. ปกป้องดวงตา
ใส่แว่นกันแดดเป็นประจำเพื่อปกป้องดวงตาจากรังสียูวี และสวมใส่แว่นนิรภัยเมื่อต้องทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของดวงตา หากทำเช่นนี้แล้วจะช่วยรักษาสุขภาพดวงตาที่ดีไว้ได้ยาวนานและช่วยลดโอกาสที่จะเกิดความเสื่อมของดวงตาตามอายุได้
สรุป
อาการสายตายาวตามอายุเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายแก่ชราลง ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นระยะใกล้ และอาการจะมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าอาการนี้จะยังไม่มีวิธีไหนที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่หากมีความรู้ความเข้าใจถึงต้นเหตุ อาการ และปัจจัยเสี่ยงของโรค สามารถช่วยให้คุณรับมือกับอาการนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การตรวจตาเป็นประจำและสร้างนิสัยในการดำเนินชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ สามารถช่วยรักษาการมองเห็นที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่ออายุมากขึ้น หากคุณสังเกตว่าการมองเห็นของคุณเปลี่ยนแปลงไป หรือมีอาการสายตายาวตามอายุเหมือนดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น เราแนะนำให้คุณเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสายตา เพื่อการประเมินผลและจัดการรับมืออาการอย่างเหมาะสม
ความสำคัญของนักทรรศนมาตร
สุดท้ายนี้ นักทัศนมาตรที่ดีจะช่วยให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น พวกเขาเข้าใจทั้งแฟชั่นและการใช้งานของแว่นตา
ที่ Niche Nation เราบริการด้วยความเชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ ทีมงานของเราประกอบด้วยนักทัศนมาตรและผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่นที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี ทุ่มเทเพื่อให้คำปรึกษาชั้นยอดสำหรับการตรวจวัดสายตาและการเลือกกรอบแว่น
พบกับพวกเราได้ที่ Central Embassy
02 160 5825